เมนู

ด้วยตนเอง จักทำให้แจ้ง จักเข้าถึงซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิ
ได เพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายแล้ว สำเร็จอิริยาบถ อยู่ในทิฏฐธรรม
ในกาลไหน ๆ โดยแท้ ดังนี้เรียกว่า ผู้มีความหวัง.
3. วิคตาสบุคคล บุคคลผู้มีความหวังไปปราศแล้ว
เป็นไฉน ?

บุคคลบางคนในโลกนี้ รู้ยิ่งด้วยตนเองแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว เข้าถึง
แล้ว ซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะความสิ้นไปแห่ง
อาสวะทั้งหลายแล้ว สำเร็จอิริยาบถอยู่ในทิฏฐธรรมแล เธอได้ยินว่า นัยว่า ภิกษุ
ชื่ออย่างนี้ รู้ยิ่งด้วยตนเองแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว เข้าถึงแล้ว ซึ่งเจโตวิมุตติ
ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย สำเร็จ
อิริยาบถอยู่ในทิฏฐธรรม ดังนี้ เธอย่อมไม่เกิดความคิดขึ้นว่า แม้เราก็รู้ยิ่งด้วย
ตนเอง จักทำให้แจ้ง จักเข้าถึงซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้
เพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายแล้ว สำเร็จอิริยาบถอยู่ในทิฏฐธรรม ใน
กาลไหน ๆ โดยแท้ ดังนี้ ข้อนั้น เพราะเหตุไร เพราะว่า ความหวังในความ
หลุดพ้นใดของพระขีณาสพนั้น ผู้ซึ่งเมื่อยังไม่หลุดพ้นในกาลก่อน ความหวัง
นั้นได้สงบระงับแล้ว บุคคลนี้เรียกว่า ผู้มีความหวังไปปราศแล้ว.

อรรถกถาติกนิทเทส


อธิบายบุคคล 3 จำพวก


อรรถกถาบุคคลผู้ไม่มีความหวังเป็นต้น


บทว่า "ทุสฺสีโล" ได้แก่ ผู้ไม่มีศีล.
บทว่า "ปาปธมฺโม" ได้แก่ผู้มีธรรมอันลามก อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า
ผู้ทุศีล เพราะความวิบัติแห่งศีล ชื่อว่า ผู้มีธรรมอันลามก เพราะความวิบัติ

แห่งทิฏฐิ อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ผู้ทุศีล เพราะขาดความสำรวมทางกายทวารและ
วจีทวาร ชื่อว่า ผู้มีธรรมอันลามก เพราะขาดความสำรวมทางมโนทวาร. ชื่อว่า
ผู้ทุศีล เพราะความเป็นผู้ประกอบการงานอันไม่สะอาด. ชื่อว่า ผู้มีธรรมอัน
ลามก เพราะความเป็นผู้มีอัธยาศัยอันไม่สะอาด. ชื่อว่า ผู้ทุศีล เพราะเว้นจาก
กุศลศีล ชื่อว่า ผู้มีธรรมอันลามก เพราะประกอบด้วยอกุศลศีล.
บทว่า "อสุจิ" แปลว่า ไม่สะอาด ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยกรรมอันไม่
สะอาดทั้งหลาย มีกายกรรมเป็นต้น.
บทว่า "สงฺกสฺสรสมาจาโร" ได้แก่ ผู้มีสมาจารอันผู้อื่นพึงระลึก
ได้ด้วยความระแวง. อธิบายว่า ผู้มีสมาจารอันผู้อื่นเห็นโทษอย่างใดอย่างหนึ่ง
อันไม่สมควรแล้วระแวงอย่างนี้ กรรมนี้จักเป็นของอันภิกษุนี้กระทำแล้ว หรือ
มีสมาจารอันตนพึงระลึกได้ด้วยความระแวงของคนนั่นแหละ ชื่อว่า ผู้มีสมาจาร
อันน่าระแวง. ก็เพราะเขาเห็นพวกภิกษุประชุมปรึกษากันถึงกิจอย่างใดอย่าง
หนึ่งนั่นแหละ ในที่เป็นที่พักกลางวันเป็นต้น เขาจึงมีสมาจารอันน่าระแวง
สงสัยอย่างนี้ว่า พวกภิกษุเหล่านั้นรู้กรรมที่เรากระทำหรือ จึงปรึกษากันอยู่.
บทว่า "ปฏิจฺฉนฺนกมฺมนฺโต" ได้แก่ประกอบด้วยธรรมอันลามก
อันสมควรแก่การปกปิด.
สองบทว่า "อสฺสมโณ สมณปฏิญฺโญ" ความว่า ผู้มิได้เป็นสมณะ
เลย แต่ปฏิญาณอย่างนี้ว่า เราเป็นสมณะ เพราะเป็นผู้มีคุณธรรมอันควรแก่
ความเป็นสมณะ.
สองบทว่า "อพฺรหฺมจารี พฺรหฺมจารีปฏิญฺโญ" ความว่า ก็ภิกษุ
ผู้ทุศีลนั้นเห็นเพื่อนสหธรรมิกผู้เป็นพรหมจารี ผู้ประพฤติธรรมอันประเสริฐ
นุ่งห่มเรียบร้อย ทรงบาตรงดงามเที่ยวไปเพื่อบิณฑบาตในบ้าน (คาม) นิคม

ชนบท และราชธานีทั้งหลายแล้วสำเร็จการเลี้ยงชีพอยู่ แม้ตนเองก็ปฏิบัติเช่น
นั้น โดยอาการเช่นนั้น ย่อมเป็นเหมือนกับให้ปฏิญญาว่า "ข้าพเจ้าเป็น
พรหมจารี" กล่าวว่า ข้าพเจ้าเป็นภิกษุแล้วเข้าไปสู่โรงอุโบสถเป็นต้น ย่อม
ปฏิญญาว่าตนเป็นพรหมจารีบุคคล นั่นแหละ. บุคคลผู้ถือเอาลาภอันเป็นของ
สงฆ์ก็เหมือนกัน.
บทว่า "อนฺโตปูติ" ได้แก่ ผู้มีกรรมอันกรรมเน่าตามเข้าไปใน
ภายใน อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ผู้เน่าใน เพราะเว้นจากสาระแห่งคุณ โดยความ
เป็นผู้ไม่มีคุณ.
บทว่า "อวสฺสุโต" ได้แก่ ผู้อันราคะเป็นต้นชุ่มแล้ว.
บทว่า "กสมฺพุชาโต"1 ได้แก่ ผู้มีหยากเยื่อมีราคะเป็นต้นเกิด
แล้ว. อีกอย่างหนึ่ง น้ำปฏิกูลที่ซึมเข้าไปสู่ซากศพอันชุ่ม พระองค์ก็ตรัส
เรียกว่า กสัมพุ. ก็บุคคลชื่อว่าผู้ทุศีลในพระศาสนานี้ เป็นเช่นกับน้ำเหลือง
อันชุ่มในซากศพ เพราะความที่ตนเป็นผู้อันบัณฑิตพึงรังเกียจ เพราะฉะนั้น
บุคคลใดเป็นเหมือนน้ำเหลืองซากศพ บุคคลนั้นจึงชื่อว่า กสัมพุชาต.
ข้อว่า "ตสฺส น เอวํ โหติ" ความว่า เพราะเหตุไร เธอจึงไม่มี
ความคิดอย่างนั้น ? เพราะศีลที่เธอตั้งอยู่แล้วพึงอาจเพื่อจะได้พระอรหัต
เธอก็ทำลายเสียแล้ว. เหมือนอย่างว่า ลูกคนจัณฑาลแม้ได้ยินว่า ขัตติยกุมาร
ชื่อโน้น เขาอภิเษกในราชสมบัติแล้วก็เพราะชนทั้งหลายผู้เกิดในภายหลังใน
ตระกูลใดย่อมถึงการอภิเษก ตนมิได้เกิดในตระกูลนั้นจึงมิได้มีความคิดอย่างนี้
ว่า "แม้ชื่อว่าเรานั้น ก็จักพึงถึงการอภิเษก เหมือนขัตติยกุมารโดยแน่แท้
ฉันใด ภิกษุผู้ทุศีล แม้ฟังว่า "พระภิกษุชื่อโน้นบรรลุพระอรหัตดังนี้ เพราะ

1. บาลีว่า กสมฺพุกชาโต

ความที่ศีลที่ตนตั้งอยู่แล้วนั้นไม่มี จึงไม่มีความคิดอย่างนี้ว่า "แม้ชื่อว่าเรานั้น
จักพึงบรรลุพระอรหัต เหมือนภิกษุผู้มีศีลโดยแน่แท้" ฉันนั้นเหมือนกัน.
สองบทว่า "อยํ วุจฺจติ" ความว่า บุคคลนี้ คือ ผู้เห็นปานนี้ ท่าน
เรียกว่า นิราโส ผู้ไม่มีความหวัง เพราะไม่มีความหวังที่จะได้พระอรหัต.
ข้อว่า "ตสฺส เอวํ โหติ" ความว่า เพราะเหตุที่ศีลที่เธอตั้งอยู่แล้ว
สามารถเพื่อบรรลุพระอรหัตเป็นสภาพมั่นคง. เหมือนอย่างว่า กุมารผู้สุชาติ
คือ เกิดดีแล้ว พอสดับคำว่า " ขัตติยกุมารชื่อโน้น เขาอภิเษกแล้ว" เพราะเหตุ
ที่ตนก็เกิดในตระกูลนั้นจึงมีความดำริอย่างนี้ว่า "แม้เราก็พึงถึงการอภิเษก
เหมือนกุมารนั้นโดยแน่แท้ " ฉันใด ภิกษุผู้มีศีล พอได้ยินว่า "ภิกษุชื่อโน้น
บรรลุพระอรหัตแล้ว" เพราะเหตุที่ศีลอันเธอตั้งอยู่แล้วควรจะบรรลุพระ-
อรหัตเป็นธรรมชาติมั่นคง จึงมีความคิดอย่างนี้ว่า "แม้เราก็พึงบรรลุพระ-
อรหัต เหมือนกับภิกษุผู้มีศีลโดยแน่แท้" ฉันนั้นเหมือนกัน.
ข้อว่า "อยํ วุจฺจติ" ความว่า บุคคลนี้ คือ ผู้เห็นปานนี้ ท่านเรียก
ว่า อาสํโส คือ ผู้มีความหวัง เพราะว่าเธอนั้นหวังอยู่ คือ ปรารถนาอยู่ซึ่ง
พระอรหัต เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกว่า อาสํโส. บุคคลผู้มีความหวัง
ข้อว่า " ยา หิสฺส ปุพฺเพ อวิมุตฺตสฺส" ความว่า ความหวังในการ
หลุดพ้นอันใด ของพระขีณาสพผู้ยังมิได้หลุดพ้น ด้วยการหลุดพ้นด้วย
อรหัตมรรคในกาลก่อนความหวังอันนั้นของท่านสงบระงับแล้ว เพราะฉะนั้น
พระขีณาสพท่านจึงไม่มีความคิดอย่างนั้น. เหมือนอย่างว่า กษัตริย์ผู้อภิเษก
แล้ว พอทรงสดับคำว่า " ขัตติยกุมารชื่อโน้นเขาอภิเษกในราชสมบัติแล้ว" เพราะ
พระราชาองค์เดียวมิได้มีการอภิเษก 2 ครั้ง มิได้มีเศวตฉัตร 2 ครั้ง จึงมิได้
มีความดำริอย่างนี้ว่า "แม้เราก็พึงถึงการอภิเษก เหมือนขัตติกุมารนั้นโดย

แน่แท้" ฉันใด พระขีณาสพพอได้ยินว่า "พระภิกษุชื่อโน้น บรรลุพระ-
อรหัตแล้ว" เพราะความเป็นพระอรหัต 2 ครั้งไม่มี ท่านจึงมิได้มีความคิด
อย่างนี้ว่า "แม้เราก็จะพึงบรรลุพระอรหัต เหมือนพระภิกษุนั้นโดยแน่แท้"
ฉันนั้นนั่นเทียว.
ข้อว่า "อยํ วุจฺจติ" ความว่า บุคคลนี้ คือ ผู้เห็นปานนี้ ท่านเรียก
ว่า วิคตาโส คือ ผู้ปราศจากความหวัง เพราะท่านปราศจากความหวังใน
ความเป็นพระอรหัต.

บรรดาบุคคลเหล่านั้น บุคคลเปรียบด้วยคนไข้ 3 จำพวก
เป็นไฉน ?

[85]

คนไข้ 3 จำพวก.


1. คนไข้บางคนในโลกนี้ ได้โภชนะเป็นที่สบายหรือไม่ได้โภชนะ
เป็นที่สบาย ได้เภสัชเป็นที่สบายหรือไม่ได้เภสัชเป็นที่สบาย ได้อุปัฏฐาก
สมควรหรือไม่ได้อุปัฏฐากสมควร ก็ย่อมไม่หายจากอาพาธนั้นเลย.
2. ส่วนคนไข้บางคนในโลกนี้ ได้โภชนะเป็นที่สบาย หรือไม่ได้
โภชนะเป็นที่สบาย ได้เภสัชที่สบายหรือไม่ได้เภสัชที่สบาย ได้อุปัฏฐากที่สมควร
หรือไม่ได้อุปัฏฐากที่สมควรก็ย่อมหายจากอาพาธนั้น.
3. ส่วนคนไข้บางคนในโลกนี้ ได้โภชนะเป็นที่สบาย ก็หายจาก
อาพาธนั้น ไม่ได้ก็ไม่หายจากอาพาธนั้น ได้เภสัชเป็นที่สบาย ก็หายจากอาพาธ
นั้น ไม่ได้ก็ไม่หายจากอาพาธนั้น ได้อุปัฏฐากที่สมควร ก็หายจากอาพาธนั้น
ไม่ไดก็ไม่หายจากอาพาธนั้น.